แนะนำสารหล่อลื่นสังเคราะห์และการใช้งาน

น้ำมันสังเคราะห์ทุกชนิดมีความแตกต่างกัน  การเลือกใช้ควรขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน สารเพิ่มประสิทธิภาพเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ทำให้สารหล่อลื่นสังเคราะห์มีคุณสมบัติเฉพาะ  น้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์ชนิดเดียวกันจากผู้ผลิตต่างกัน  อาจมีผลต่อสมรรถนะที่ไม่เหมือนกัน  วิธีการเลือกสารหล่อลื่นสังเคราะห์ที่ดีที่สุด  ควรพิจารณาจากประวัติการใช้ในอดีตและผลทดสอบการใช้งานจริงเป็นสำคัญ มีหลายๆการใช้งานที่น้ำมันแร่สามารถให้สมรรถนะที่ดีในต้นทุนที่ถูกกว่า  น้ำมันสังเคราะห์เป็นวิธีแก้ไขปัญหาสำหรับการใช้งานเฉพาะที่มีเงื่อนไขต่างๆ ดั้งนี้
  • อุณหภูมิ  เนื่องจากน้ำมันสังเคราะห์ไม่มีส่วนประกอบของไขจึงใช้กับสภาพอุณหภูมิต่ำมากๆได้   น้ำมันPAO เบอร์ 32 และ Diester เบอร์ 32 มีจุดไหลเทที่อุณหภูมิต่ำกว่า –50 oF และยังคงประสิทธิภาพดีที่อุณหภูมิสูงกว่า 200 oF  ซึ่งน้ำมันแร่มีอุณหภูมิการใช้งานสูงสุดจำกัดที่ไม่เกิน 200oF ควรพิจารณาใช้น้ำมันสังเคราะห์เมื่ออุณหภูมิทำงานขั้นต่ำที่ระดับ 180oF
  • การสึกหรอต่ำ  โดยทั่วไปน้ำมันสังเคราะห์มีฟิล์มหล่อลื่นแข็งแรงมากกว่า และการหล่อลื่นที่ดีกว่า  โดยเฉพาะสภาพการทำงานที่ต้องทนแรงเฉือนที่เกิดขึ้นกับ Worm gear และ Hypoid gear
  • ประหยัดพลังงาน  น้ำมันสังเคราะห์บางชนิดมีสัมประสิทธิแรงเสียดทานต่ำเนื่องจากโครงสร้างโมเลกุลที่เป็นระเบียบเป็นผลให้ประหยัดพลังงานอย่างชัดเจนในหลายๆ การใช้งาน

 

   คุณสมบัติและการใช้งานของน้ำมันสังเคราะห์

  ตารางที่ 1 แสดงการใช้งานหลักของน้ำมันสังเคราะห์ชนิดต่างๆ

ตารางที่ 1

ชนิดของน้ำมันสังเคราะห์

การใช้งาน

Polyalphaolefin (PAO)

มีประโยชน์กว้างขวาง  ใช้งานได้หลากหลาย

 

ตลับลูกปืนในห้องเย็น

 

เกียร์, สกรู คอมเพรสเซอร์ที่ไม่มีน้ำมันท่วม ตลับลูกปืนทนร้อนของพัดลมระบายอากาศ

 

ปั้มและมอเตอร์

 

Oil mist, ยานยนต์

Diester

คอมเพรสเซอร์ระบบลูกสูบ ตลับลูกปืนทนร้อน, Oil mist

Polyol Ester (POE)

แกลเทอร์ไบน์

 

โรตารีสกรูคอมเพรสเซอร์

 

น้ำมันไฮดรอลิคต้านทานการตัดไป

Polyalkyline (PAG)

สกรูคอมเพรสเซอร์ที่ต้องมีน้ำมันท่วมตลอดเวลา

 

เกียร์

 

โรตารีสกรูคอมเพรสเซอร์

Polyalphaolefin (PAO)

ถ้ามีน้ำมันสังเคราะห์เพียงชนิดเดียวให้เลือกใช้ในโรงงาน คำตอบต้องเป็น PAO เพราะเป็นน้ำมันสังเคราะห์สารพัดประโยชน์และใช้งานกว้างขวางที่สุด   ทำหน้าที่ได้ดีในช่วงอุณหภูมิกว้างและมีค่าความหนืดให้เลือกมากมายโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติพื้นฐานและสามารถเข้ากันได้ดีกับสารหล่อลื่นประเภทอื่นๆ   เนื่องจากเป็นสารประเภทไม่มีขั้วจึงมีคุณสมบัติการละลายสารเพิ่มประสิทธิภาพได้ไม่ดี และเป็นสาเหตุให้ซีลหดตัวเล็กน้อย  จึงจำเป็นต้องมีการผสมกับน้ำมันสังเคราะห์ที่มีขั้วเช่น ester ซึ่งทำให้ซีลพองตัวขึ้นและละลายสารเพิ่มประสิทธิภาพดีขึ้น

 

การใช้งานของ PAO ที่พบบ่อยได้แก่

  • เกียร์ที่มีอุณหภูมิทำงานสูงและรับงานหนักมาก  น้ำมันหล่อลื่น PAO ผสม EP เหมาะใช้กับ helical และ herringbone gear ขณะที่น้ำมัน PAO ที่ไม่มีสาร EP มักใช้งานหล่อลื่น Open gear
  • เป็นน้ำมันที่ถูกใช้บ่อยๆ ในโรตารี่สกรูคอมเพรสเซอร์อัดอากาศ PAO และ PAG เพื่อยืดอายุการงานของน้ำมัน
  • PAO เบอร์ 68 เป็นน้ำมันที่ใช้สำหรับฉีดพ่น (oil mist) ใน rolling element pump และตลับลูกปืนของมอเตอร์
  • PAO ได้รับการรับรองให้ใช้กับโรงงานอาหาร NSF-H1 ในหลายๆ การใช้งาน
  • ไม่แนะนำให้ใช้ PAO กับคอมเพรสเซอร์ลูกสูบที่มีอุณหภูมิการทำงานสูงเพราะอาจก่อให้เกิดการสะสมของคราบเขม่าแข็งบนวาล์วไอเสีย ทำให้วาล์วปิดไม่สนิท

 

Diester

Diester เป็นสารสังเคราะห์ที่เก่าแก่ที่สุดและมีช่วงค่าความหนืดให้เลือกใช้งานได้แคบ  ค่าความหนืดที่ใช้งานส่วนใหญ่ คือ #32, 46, 68, 100 และ 150   เฉพาะความหนืดเบอร์ 32 เท่านั้นที่มีค่าดัชนีความหนืดสูง  ขณะที่ค่าความหนืดอื่นๆ มีค่าดัชนีความหนืดระหว่าง 70-100 ขึ้นกับชนิดของแอลกอฮอล์และกรดที่ใช้ในการผลิต

 

สมรรถนะที่เป็นจุดแข็งของ Diester คือการทำละลายที่ดีเยี่ยม  ลดการตกตะกอน มีคุณสมบัติการใช้งานดีที่อุณหภูมิต่ำ ทนความร้อนสูง และค่า flash point สูง

 

Diester มี aniline number ต่ำและมีแนวโน้มทำให้ซีลยางขยายตัว ดังนั้นจึงต้องใช้ซีลยางที่ทนทานเช่น DuPont Viton , Diester ยังสามารถทำปฏิกิริยากับน้ำ (hydrolize)  เมื่อร้อนและสภาพความชื้นสูงซึ่งเป็นสภาพการใช้งานที่เกิดขึ้นในสกรูอมเพรสเซอร์

 

การใช้งานของ Diester ประกอบด้วย

  • ใช้เป็นหลักในคอมเพรสเซอร์อัดอากาศแบบลูกสูบที่ทำงานหนักและไฮโดรคาร์บอน คอมเพรสเซอร์ diester มีคุณสมบัติการทนร้อนและการทำละลายที่ดี diester จะป้องกันการสะสมของคราบเขม่าบนวาล์วไอเสีย
  • เป็นน้ำมันสังเคราะห์ที่เป็นทางเลือกในคอมเพรสเซอร์มานานและยังคงใช้งานอยู่  แต่เริ่มใช้ในวงแคบลงเนื่องจากโอกาสเกิดไฮโดรไลเซชั่น   ใช้ผสมกับน้ำมันแร่และ PAG สำหรับหล่อลื่นระบบอัดอากาศ
  • น้ำมัน diester ค่าความหนืดเบอร์ 68 และ เบอร์ 100 ถูกใช้อย่างกว้างขางสำหรับเป็นสารหล่อลื่นฉีดพ่นในชิ้นส่วนของปั้มและตลับลูกปืนของมอเตอร์

 

Polyol Ester (POE)

POE มีคุณสมบัติทนอุณหภูมิสูงมากจึงสามารถใช้กับงานในสภาพที่ต้องทนร้อนมากๆ และยังมีคุณสมบัติทนไฟเพราะมีจุดวาบไฟสูงและอุณหภูมิติดไฟสูง  ใช้เป็นน้ำมันไฮโดรลิคในบริเวณที่มีความอ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมเพราะพร้อมสลายตัวเองได้ดี

 

จุดด้อยของ POE คือ ต้นทุนเพราะมีราคาสูงกว่า PAO และ PAG และ Diester ถึง 50% แม้ว่ามีแนวโน้มเกิด Hydrolyse ที่อุณหภูมิและความชื้นสูง  แต่ POE ยังมีความเสถียรดีกว่า diester

 

 

การใช้งานเบื้องต้นของ POE ประกอบด้วย

  • Gas turbine ในเครื่องบินและอุตสาหกรรมที่ทำงานในช่วงอุณหภูมิตั้งแต่ –40oF ถึง มากกว่า 400oF และต้องการความหนืด 27 cSt
  • การยืดระยะเวลาการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันในเครื่องคอมเพรสเซอร์อัดอากาศให้นานกว่า 12,000 ชั่วโมง และทนอุณหภูมิที่ 240oF ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิสูงสุดที่เกิดขึ้นในโรตารีสกรูคอมเพรสเซอร์
  • น้ำมันไฮโดรลิคทนไฟในเหมืองใต้ดิน, โรงงงานหลอมเหล็ก โรงงานที่ต้องการการรับรองและได้มาตรฐาน MSHA certified เมื่อต้องการจุดวาบไฟของน้ำมันเบอร์ 46 มากกว่า 560 oF และจุดติดไฟ >680  oF
  • น้ำมันไฮโดรลิคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถย่อยสลายตัวเองทางชีวภาพและมีส่วนประกอบของสารเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันสึกหรอแบบไร้เถ้า

 

Polyalkylene glycol (PAG)

PAG ค่อนข้างเป็นสารสังเคราะห์สารพัดประโยชน์  สามารถออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ละลายในน้ำได้หลากหลายโดยปรับอัตราส่วนของ ethelene และ propyrlene  ออกไซด์ในระหว่างกระบวนการผลิต  มีค่าดัชนีความหนืดสูงเกิน 250 ในขณะเดียวกันมีความเป็นขั้วสูงสำหรับจับกับผิวของโลหะเพื่อให้การหล่อลื่นที่ดี  PAG ไม่สร้างคราบสะสมและสามารถลดการละลายของแก๊สในน้ำมัน  จุดด้อยหลักของ PAG คือไม่เข้ากันกับน้ำมันแร่และ PAG และทำให้ซีลยางเกิดการหดตัวและเป็นปฏิกิริยากับสีบางชนิด

 

 

 

 

 

การใช้งานเบื้องต้นของ PAG

  • คอมเพรสเซอร์ทั้งแบบ โรตารี่สกรูและลูกสูบ
  • เกียร์ โดยเฉพาะ worm gear
  • น้ำมันไฮโดรลิคทนไฟ
  • ผลิตภัณฑ์เกรดอาหาร NSF –H1 ที่มีค่าความหนืดเบอร์ 150 หรือสูงกว่า
  • คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ที่ต้องใช้น้ำมันท่วมขณะทำงาน
  • คอมเพรสเซอร์นี้ใช้ ethelene ความดันสูงในการผลิตพลาสติก HDPE

 

การใช้งานหลักๆ ของน้ำมันสังเคราะห์ที่มีความคุ้มค่า

  • Air Compressor

* Rotary Screw

* Reciprocating

  • Hydro carbon Compressor

* Rotary Screw

* Reciprocating

  • เกียร์

* Helical, Herringbone and Spiral Bevel

* worm gear

 

Rotary screw compressor

จัดเป็นคอมเพรสเซอร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมมากที่สุด  อากาศถูกบีบอัดให้มีอุณหภูมิสูงพร้อมกับมีความชื้นเจือปนอยู่   จึงเป็นสภาพแวดล้อมรุนแรงที่เกื้อหนุนต่อการเสื่อมสภาพของน้ำมัน (oxidation)    สารหล่อลื่นในคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่หลัก 4 อย่างคือ หล่อเย็น หล่อลื่น (ตลับลูกปืน, เกียร์, และสกรู) , sealing (ปิดไม่ให้อากาศไหลออก) และป้องกันการกัดกร่อน ดังนั้นจึงต้องการสารหล่อลื่นที่มีดัชนีความหนืดสูง ทนต่อการเสื่อมสภาพและให้การหล่อลื่นที่ดี  ผู้ผลิตคอมเพรสเซอร์หลายรายมีน้ำมันหล่อลื่นของตนเองซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำมันสังเคราะห์  ตารางที่ 2 แสดงอายุการใช้งานของสารหล่อลื่นตามประเภทของน้ำมันพื้นฐาน 

 

จำนวนชั่วโมงการใช้งานของน้ำมันที่ให้ไว้ในตารางเป็นคำแนะนำจากผู้ผลิตเครื่องคอมเพรสเซอร์  น้ำมันสังเคราะห์สามารถใช้ได้นานกว่านี้ถ้าอุณหภูมิและความชื้นต่ำกว่าปกติ   ขึ้นกับสภาพการใช้งาน 

 

 

 

 ตารางที่ 2 จำแนก น้ำมันคอมเพรสเซอร์ตามอายุการใช้งานของน้ำมันพื้นฐาน

ชนิดของสารหล่อลื่น

คาดหมายอายุการใช้งานโดย OEM

 

กลุ่ม 2

1,500 - 2,000 ชั่วโมง

 

น้ำมันกึ่งสังเคราะห์ผสมกับ ester

4,000 ชั่วโมง

 

PAO

8,000 ชั่วโมง

 

PAG/ester (POE หรือ diester)

8,000 ชั่วโมง

 

POE

12,000 ชั่วโมง

 

 

น้ำมันสังเคราะห์สำหรับคอมเพรสเซอร์ที่ถูกเลือกใช้บ่อยๆ  เพื่อยืดอายุการใช้งานคือ PAO เบอร์ 46 และ PAG/Ester  เบอร์ 46   ชนิดของ ester ที่มักถูกเลือกใช้ผสมกับ PAG คือ diester และ POE ซึ่งช่วยให้ซีลขยายตัวเพื่อต่อต้านการหดตัวที่เกิดจาก PAG

 

POE  เป็นน้ำมันสังเคราะห์ที่ให้อายุการใช้งานนานสุดและใช้สำหรับขยายระยะเวลาการรับประกัน  ผลการทดสอบการวัดความต้านทานออกซิเดชั่นของ POE บางชนิด  โดย วิธีการทดสอบที่เรียกว่า RPVOT  พบว่าสามารถต้านทานออกซิเดชั่นได้นานกว่า 3,000 นาที  ซึ่งสูงเกือบเป็น 2 เท่าของ PAO และ PAG      POE สามารถใช้อุณหภูมิสูงมากกว่า 240 oF ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิขณะที่ปิดการทำงานของเครื่องคอมเพรสเซอร์อัดกาศ  PAO สามารถรับมือกับอุณหภูมิจนถึง 220  oF  และ PAG  สามารถทนอุณหภูมิได้ต่ำกว่าคือเพียง  200  oF    แต่ PAG  มีข้อได้เปรียบกว่าคือมีค่าดัชนีความหนืดสูงกว่าซึ่งให้ฟิล์มที่หนากว่าที่อุณหภูมิสูง  ช่วยให้มีการสึกหรอน้อยกว่า  ยิ่งไปกว่านั้นไม่เกิดคราบสะสมที่อุณหภูมิสูงเมื่อน้ำมันเกิดออกซิไดซ์

 

สองปัจจัยหลักที่สามารถชดเชยต้นทุนของการใช้สารหล่อลื่นสังเคราะห์ที่เพิ่มขึ้นคือการยืดอายุการใช้งานของน้ำมันและการประหยัดพลังงาน  ลองพิจารณาจากผลการศึกษาต่อไปนี้ 

 

จากการประเมินการทำงานของเครื่องคอมเพรสเซอร์ขนาด 300 แรงม้า  ขนาดอ่างบรรจุน้ำมัน 60 แกลลอน  ทำงานที่อุณหภูมิ 180  oF      การใช้น้ำมันแร่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันทุกๆ 1,000 ชั่วโมง ขณะที่ PAO ใช้งานได้นานกว่าคำแนะนำของผู้ผลิตเครื่องคอมเพรสเซอร์ที่ 8,000 ชั่วโมงโดยสามารถทำงานได้นานถึง 15,000 ชั่วโมง  เป็นผลให้ประหยัดน้ำมันมากกว่า 67%  หรือมากกว่า 1,700 เหรียญภายในเวลา 1 ปี (ข้อมูลของ Dr.Ken Hope Chevron Phillip)

 

การประหยัดพลังงานในคอมเพรสเซอร์อัดอากาศสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน  จากการศึกษาต่างๆ มากมายได้แสดงผลการประหยัดพลังงานใน Rotary Screw compressor ระหว่าง 3-5 %  เมื่อรวมการประหยัดพลังงานและการยืดอายุการใช้งานของน้ำมันคอมเพรสเซอร์พร้อมกับการสึกหรอที่ต่ำกว่าและทำงานได้ดีกว่า  จึงเป็นเหตุเป็นผลอย่างมากที่จะเลือกใช้น้ำมันสังเคราะห์สำหรับ Air Compressor

คอมเพรสเซอร์ระบบลูกสูบ

แม้คอมเพรสเซอร์ลูกสูบ (ตามรูป 2) ไม่ได้ถูกใช้มากในปัจจุบันแต่ยังมีคอมเพรสเซอร์รุ่นเก่าที่ยังคงใช้ในอุตสาหกรรม

 

เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ลูกสูบมีอุณหภูมิการทำงานสูง การหล่อลื่นบริเวณกระบอกสูบจึงเป็นบริเวณที่ยากที่สุด  ปัญหาหลักของการใช้น้ำมันแร่สำหรับหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์ลูกสูบ คือ ปัญหาคราบแข็งจากการออกซิไดซ์เกาะที่วาล์วไอเสีย ทำให้วาล์วปิดไม่สนิท  ทำให้คอมเพรสเซอร์เกิดความร้อนสูงและอาจเกิดไฟไหม้ได้

 

ทางเลือกของน้ำมันหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ คือใช้ diester เบอร์ 100 หรือ 150 ซึ่งมีการทำละลายได้ดีเยี่ยม  รูปที่ 3 แสดงรูปวาล์วไอเสีย 2 ตัว  วาล์วด้านขวาหล่อลื่นด้วยน้ำมันแร่และผ่านการใช้งานมานาน 4 เดือน ส่วนวาล์วด้านซ้ายหล่อลื่นด้วยน้ำมัน diester  ใช้งานมานาน 6 เดือน วาล์วที่หล่อลื่นด้วย diester ยังคงทำงานราบเรียบโดยไม่มีคราบแข็ง  ช่วยลดต้นทุนการเปลี่ยนวาล์วได้มากกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐ

 

Hydrocarbon compression rotary  screw compressor  เป็นสกรูคอมเพรสเซอร์ชนิดที่ไม่มีน้ำมันท่วม   ทำงานที่อุณหภูมิต่ำกว่า 180  oF  สามารถหล่อลื่นด้วยน้ำมันแร่โดยไม่มีปัญหาใดๆ อย่างไรก็ตามผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเป็นน้ำมันสังเคราะห์diester และ PAO เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประหยัดพลังงาน สกรูคอมเพรสเซอร์ระบบที่หล่อลื่นโดยใช้น้ำมันท่วม    น้ำมันแร่จะสูญเสียความหนืดไปอย่างรวดเร็ว เพราะก๊าซไฮโดรคาร์บอนละลายในน้ำมันทำให้ค่าความหนืดลดต่ำลง

 

PAG เป็นน้ำมันหล่อลื่นสังเคราะห์ที่ทนต่อก๊าซไฮโดรคาร์บอนมากที่สุด   มักจะถูกแนะนำให้ใช้กับสกรูคอมเพรสเซอร์แบบน้ำมันท่วม  แม้ว่า PAG สามารถต้านแบบการเจือจางได้ดีกว่าน้ำมันแร่แต่ต้องพิจารณาเลือกค่าความหนืดครั้งแรกให้เหมาะสมกับอุณหภูมิการทำงาน   และเผื่อการเจือจางด้วยก๊าซไฮโดรคาร์บอนบางส่วน  PAG เพิ่มความได้เปรียบโดยให้ค่าดัชนีความหนืดสูงมาก

 

Ethelene  high – pressure reciprocating compressor น้ำมันสังเคราะห์ PAG เป็นสารหล่อลื่นที่เป็นตัวเลือกของ คอมเพรสเซอร์ที่ใช้เอทลีนความดันสูงเพราะมีการละลายก๊าซไฮโดรคาร์บอนน้อยสุด  ค่าความหนืดของ PAG ที่ใช้คือ 270 cSt  ค่าความหนืดที่ระดับนี้ยังคงให้ความแข็งแรงของฟิล์มแม้มีแรงดันสูง นำไปสู่การสิ้นเปลืองสารหล่อลื่นต่ำและอัตราการสึกหรอต่ำ

 

 

 

 

 

 

Low Pressure Hydrocarbon Compressor

น้ำมันแร่ที่มีค่าความหนืดอุณหภูมิปานกลางสามารถใช้ได้ดี  ถ้ามีสภาพการใช้งานที่หนักขึ้นสามารถใช้น้ำมันสังเคราะห์ PAG และ Diester เป็นทางเลือกได้  แต่ไม่แนะนำให้ใช้ PAO เพราะมีแนวโน้มเกิดการสะสมของคราบแข็งจากการออกซิไดซ์

 

Helical, Herringbone และ Spiral เกียร์

เกียร์เกิดการหล่อลื่นแบบ EHL จากการเคลื่อนที่ในแนวเฉือนและการหมุน  ปัจจัยที่ต้องคำนึงในการหล่อลื่นฟันเกียร์คือต้องมีฟิล์มที่หนาพอสำหรับรับแรงเฉือนและแรงกระแทก  ในหลายๆ กรณีการใช้สาร EP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับแรงกับเกียร์ที่รับแรงมากเพื่อเป็นสารป้องกันการเกิดรอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ปกติใช้น้ำมันค่าความหนืด 220 ที่มีส่วนผสมของ EP สำหรับ Helical , Herringbone และ Spiral เกียร์  แต่ถ้าสภาพการทำงานที่ไม่ปกติ เช่น อุณหภูมิสูงและต้องรับแรงกระแทกมากจะเลือกใช้น้ำมันสังเคราะห์ PAO ที่มีสาร EP   แม้ว่า PAG สามารถใช้ได้แต่เนื่องจากปัญหาการเข้ากันได้กับน้ำมันชนิดอื่น  PAO จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า  การบรรจุเป้าหมายประหยัดพลังงานในเกียร์ทั้ง 3 แบบมีความยุ่งยากกว่า  ปกติแล้วน้ำมันสังเคราะห์สามารถให้การประหยัดพลังงานเพียง 3%  หรือน้อยกว่า  ดังนั้นการเลือกใช้สารสังเคราะห์ในเกียร์เหล่านี้จึงไม่ใช่เป็นเหตุผลด้านการประหยัดพลังงานเพียงอย่างเดียว แต่จะให้ผลที่ดีกว่าถ้ามีจุดประสงค์ใช้น้ำมันสังเคราะห์เพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำงานของเกียร์อย่างน่าอัศจรรย์ แม้จะต้องรับแรงหรือทำงานที่อุณหภูมิสูง

 

 

Worm gear

วอล์มเกียร์ตามรูป 4 ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการทำงาน  การใช้น้ำมันสังเคราะห์จึงเป็นตัวเลือกที่ดี  วอล์มเกียร์มีเกลียวหมุนไปทางขวาตามแกน ประกอบด้วยแกนเหล็กและล้อทองเหลือง  มีการกลิ้งเพียงเล็กน้อยส่วนใหญ่เป็นการเคลื่อนที่ในลักษณะเฉือนซึ่งก่อให้เกิดการสึกหรอและความร้อนสูงกว่าอุณหภูมิแวดล้อม  เนื่องจากสาร EP  เป็นอันตรายต่อทองเหลืองจึงมีน้ำมันเกียร์ที่ใช้ EP น้อยมาก   ทางเลือกของสารหล่อลื่นที่ใช้จึงเป็นสารผสมของน้ำมันแร่ความหนืดสูงเช่น ISO เบอร์ 460 กับไขพืชสำหรับหล่อลื่นฟันเกียร์เมื่อเกิดการสัมผัสระหว่างโลหะต่อโลหะ  สารหล่อลื่นแบบนี้เสื่อมสภาพเร็วมากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น และไม่ได้ป้องกันสึกหรอที่ดี  น้ำมันสังเคราะห์ที่นิยมใช้กับ worm gear มี 2 ชนิด คือ PAO และ PAG ความหนืด ISO 460  น้ำมันทั้งสองชนิดทำงานได้ดีแม้ไม่มีสาร EP สามารถให้ฟิล์มหล่อลื่นแข็งแรง  จากผลการทดสอบที่วัดจาก FZG test ที่ใช้วัดการเกิดรอยของฟันเกียร์เมื่อต้องรับแรงระดับต่างๆ ได้คะแนนดีมาก  ตัวอย่างเช่น Mobil SHC634 ซึ่งเป็นน้ำมันสังเคราะห์ PAO เบอร์ 460 ไม่มีสาร EP ได้คะแนน FZG test สูงสุดระดับ 13 ในการทดสอบ ซึ่งมีอัตราการสึกหรอต่ำและประหยัดพลังงาน

 

มีการบันทึกข้อมูลไว้น้ำมันสังเคราะห์ประหยัดพลังงานได้ถึง 7%    PAG ให้ประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานที่ดีกว่าเนื่องจากสัมประสิทธิการเสียดสี (traction coefficient) ซึ่งเกิดขึ้นภายในสารหล่อลื่นต่ำกว่า  แต่น้ำมันสังเคราะห์ PAO สามารถทำได้ดีเช่นเดียวกัน  อุณหภูมิภายในเกียร์ขณะทำงานสามารถลดลงได้ถึง 20-30 oF    แม้ PAG  ได้รับความนิยมกับ gear  ทั้งในยุโรปแต่ในสหรัฐอเมริกานิยมใช้มากกว่าเพราะประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานที่ดีกว่า  PAG จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเกียร์ใหม่และสามารถใช้กับเกียร์เก่าได้หากมีการล้าง (flushing) ห้องเกียร์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม  แต่เนื่องจาก PAG อาจเป็นอันตรายต่อสีบางประเภท     PAO จึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าเมื่อต้องการเปลี่ยนจากน้ำมันแร่เป็นน้ำมันสังเคราะห์

 

กรณีศึกษาของการเปลี่ยนจากน้ำมันแร่เป็นน้ำมันสังเคราะห์ PAO

ผู้ผลิตกระป๋องรายใหญ่ใช้น้ำมันแร่เบอร์ 460 กับ double-enveloping  มีอัตราการเสียหายของเกียร์โดยเฉลี่ยจำนวน 4 ตัวต่อปี  เกียร์แต่ละตัวต้องเสียค่าซ่อมบำรุง 12,500 เหรียญ  ปกติอุณหภูมิทำงานอยู่ที่ 200 oF บางครั้งสูงกว่า 215 oF เมื่อเปลี่ยนจากน้ำมันแร่เป็นน้ำมันสังเคราะห์ PAP ความหนืด 460  ไม่เกิดความเสียหายของเกียร์จนถึงปัจจุบันเป็นเวลานาน 18 เดือน  ยังไม่มีเกียร์เสียหาย  อุณหภูมิเฉลี่ยของ worm gear ลดลงมากกว่า 20 oF

 

บทสรุป

น้ำมันสังเคราะห์เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่แท้จริง  แม้ว่าน้ำมันสังเคราะห์ทำงานได้ดีมากและสามารถชดเชยต้นทุนสูงขึ้นได้  แต่ในหลายๆ การใช้งานพบว่าน้ำมันแร่สามารถใช้งานได้ดีเช่นกัน  แอร์คอมเพรสเซอร์,  คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบที่ทำงานด้วยแรงดันและความร้อนสูง  และวอร์มเกียร์ เป็น 3 เครื่องจักรที่น้ำมันสังเคราะห์สามารถยกระดับสมรรถนะการทำงานและประหยัดต้นทุนได้ดี

 

การเลือกประเภทน้ำมันสงเคราะห์มีความสำคัญ  น้ำมันแต่ละชนิดมีจุดเด่นและจุดด้อยที่ต้องพิจารณาก่อนการตัดสินใจขั้นสุดท้าย

 

ต้องระลึกเสมอว่าน้ำมันสังเคราะห์ชนิดเดียวกันจากผู้ผลิตน้ำมันที่ต่างกันอาจให้คุณสมบัติต่างกัน  แม้น้ำมันพื้นฐานจะมาเหมือนๆ กันแต่ส่วนผสมของสารเพิ่มประสิทธิภาพต่างกัน  ให้เปรียบเทียบข้อมูลของผลิตภัณฑ์  แต่การตัดสินใจสุดท้ายอยู่ที่สมรรถนะจากการการใช้งานจริง  ถ้าเป็นไปได้พิจารณาจากประวัติการใช้งานของผลิตภัณฑ์ก่อนทดสอบการใช้งานโดยการควบคุมและเก็บข้อมูลอย่างระมัดระวัง   แม้กระนั้นก็ตามบางกรณีหากไม่สามารถทำได้  เราสามารถสังเกตโดยไม่ต้องทดสอบและเก็บข้อมูลอย่างจริงจัง เนื่องจากน้ำมันสังเคราะห์มีราคาแพงกว่าน้ำมันแร่ ท่านจะต้องมีการพิจารณาเลือกใช้ด้วยเหตุและผลที่ถูกต้องเที่ยงตรง